บทความเทคโนโลยีสื่อสาร

  

เทคโนโลยีการสื่อสารและระบบเครือข่าย


ถ้าพูดถึงเรื่องของระบบข้อมูลและสารสนเทศก็จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีการสื่อสารและระบบเครือข่ายด้วย   เนื่องจากข้อมูลสารสนเทศนั้นไม่สามารถเดินทางจากผู้ส่งต้นทางไปยังปลายทางได้เอง  จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นตัวควบคุมการเดินทาง  และอาศัยระบบเครือข่ายเป็นเส้นทางในปัจจุบัน  องค์กรต่างๆไม่ว่าจะขนาดใหญ่ กลาง หรือเล็กทั่วโลก ต่างก็ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและระบบเครือข่ายในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันกับบริษัทคู่ค้าผู้ผลิต การค้นคว้าวิจัย การควบคุมและการประสานงานในระหว่างองค์กร นอกจากนี้ระบบเครือข่ายเป็นพื้นฐานของE-Commerce อีกด้วยจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ศึกษาระบบข้อมูลและสารสนเทศ ที่จะต้องเข้าใจในทฤษฎีและหลักการของเทคโนโลยีการสื่อสารและระบบเครือข่าย

ระบบเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร 

            การติดต่อสื่อสาร  หมายถึง  การถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์  หรือถ้าจะอธิบายให้เห็นถึงภาพการทำงานจริงของระบบการติดต่อสื่อสารคือ การนำอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มาเชื่อมต่อหรือทำงานร่วมกันเพื่อติดต่อส่งผ่านข้อมูลระหว่างกัน ดังแสดงในรูป โดยระบบการติดต่อสื่อสารผ่านข้อมูลได้หลายประเภทไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ เสียง หรือวีดีโอ

 

 

การทำงานของระบบการติดต่อสื่อสาร 

                จะเห็นได้ว่าหลักการทำงานหลักของระบบเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารก็มีแค่ การรับ-ส่งข้อมูลระหว่างต้นทางกับมาปลายทางแต่ในการจะรับหรือส่งข้อมูลของระบบติดต่อสื่อสารนั้น ภายในประกอบไปด้วยหน้าที่ย่อยๆอีกมากมายหลายส่วนด้วยกัน ดังแสดงต่อไปนี้

-                   สื่อสารข้อมูล

-                   จัดตั้งเส้นทางเพื่อเชื่อมต่อระหว่างผู้ส่งผู้รับ

-                   ส่งข้อความไปยังเส้นทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งอาจหมายถึงเส้นทางที่ใช้เวลาน้อยที่สุด  หรือเส้นทางที่มีการเจราจาเบาที่สุด

-                   ประมวลผลเพื่อให้ข้อความส่งไปยังผู้รับได้ถูกต้อง

-                   เรียบเรียงและจัดรูปแบบข้อมูลไปให้ถูกต้อง ตรวจสอบความผิดพลาดในการส่ง

-                   เปลี่ยนความเร็วของข้อความให้เหมาะสม อย่างเช่น เปลี่ยนจากความเร็วของคอมพิวเตอร์ไปเป็นความเร็วของการสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์ หรือในทางกลับกัน

-                   ควบคุมทิศทางการไหลของข้อมูล

โปรโตคอล

ในระบบการติดต่อสื่อสารประกอบด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ชนิดต่างๆ และซอฟต์แวร์เชื่อมต่อและทำงานร่วมกันเพื่อสื่อสารส่งข้อมูล  ดั้งนั้น การที่จะทำให้อุปกรณ์ต่างชนิดเหล่านี้ทำงานร่วมกันได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีกฎหรือมตราฐานกลางที่ทุกอุปกรณ์เข้าใจได้ตรงกัน  ซึ่งกฎหรือมาตรฐานดังกล่าวนั้นจะเรียกว่า เป็นโปโตคอล

-                   NetBEUI (NetBIOS Extended User Interface)  เป็นโปรโตคอลที่เหมาะสำหรับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก โปรโตคอลชนิดนี้จะเป็นวิธีการกระจายสัญญาณทั่วไปทั่วเครือข่าย ไม่สามารถหาเส้นทางไปยังคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอข้อมูลได้  ข้อดีคือ การติดตั้งซอฟต์แวร์เครือข่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน

-                   IPX/SPX (Internet Packet Exchange)  เป็นโปโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อนำไปใช้กับระบบเครือข่ายของ Netware โปรโตคอลชนิดนี้มีความสามารถในการหาเส้นทางได้ แต่ไม่ดีเท่ากับโปโตคอลTCP/IPดังนั้น จึงเหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็กถึงระดับกลางเท่านั้น ปัจจุบัน Netware พัฒนาจนสามารถรองเครือข่ายขนาดใหญ่ได้แล้ว

-                   TCP/IP (Transfer  Control Protocol/Internet Protocol)  เป็นโปโตคอลที่ใช้อย่างแพร่หลายทั้งในเครือข่ายขนาดใหญ่และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เนื่องจากมีความสามารถในการค้นหาเส้นทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอข้อมูล และสามสารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ จึงถูกใช้เป็นโปโตคอล หลักในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

 

 

 

ทิศทางและรูปแบบในการสื่อสารข้อมูล 

                ในระบบเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเป็นการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างผู้ส่งและผู้รับผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งในการรับ-ส่งข้อมูลนี้สามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารข้อมูลได้เป็น 2 แบบได้แก่

  1. การติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว(Simples)  คือ  การสื่อสารแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับได้
  2. การติดต่อสื่อสารแบบสองทิศทาง(Half Duplex) คือ การสื่อสารข้อมูลที่สามารถส่งกลับไปกลับมาระหว่างผู้ส่งและผู้รับได้ทั้ง2ทิศทาง แต่มีเงื่อนไขตรงที่ต้องพลัดกันส่ง ไม่สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกัน
  3. การติดต่อสื่อสารแบบสองทิศทาง (Full Duplex)  เป็นการสื่อสารข้อมูลแบบ2ทิศทางโดยทั้งฝั่งผู้ส่งและผู้รับสมามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกัน เช่น ระบบโทรศัพท์

 

Simplex Transmission

 

 

 

 

Half Duplex Transmission

 

 

 

 

 

 

 

 

 Full Duplex Transmission

 

 

 

 

เสียงสัญญาณ(Signal)

            ในระบบการติดต่อสื่อสาร  ข้อมูลที่รับ-ส่งกันจะอยู่ในรูปของคลื่นสัญญาณไฟฟ้า  ซึ่งสัญญาณดังกล่าวมีอยู่ 2 ลักษณะ นั่นคือ  สัญญาณแบบอนาล็อกและสัญญาณแบบดิจิตอล  แสดงรายละเอียดได้ดังนี้

อนาล็อก   (ANALOG)

                สัญญาณแบบอนาล็อกเป็นคลื่นสัญญาณที่มีความต่อเนื่อง เป็นคลื่นสัญญาณที่มีความถี่ และความกว้างของเส้นสัญญาณเป็นองค์ประกอบ การส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณอนาล็อกจะใช้การเปลี่ยนรูปแบบของคลื่นโดยเปลี่ยนความกว้างและความถี่ของเส้นสัญญาณ เนื่องจากระดับของสัญญาณที่ต่างกันนั้น จะแปลความหมายออกมาได้ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างของสัญญาณอนาล็อกที่เห็นได้ชัดเจนคือเสียงพูดของมนุษย์

ดิจิตอล(Digital)

                สัญญาณดิจิตอลจะตรงกันข้ามกับสัญญาณอนาล็อกคือ ไม่ต่อเนื่องมีลักษณะเป็นขั้น โดยสัญญาณแบ่งเป็น 2 ขั้น นั่นคือ บิต 0 และบิต 1 ซึ่งมักจะนำไปใช้แทนการปิดและเปิดของสัญญาณตามลำดับ ตัวอย่างสัญญาณดิจิตอลที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์

 

 

 

ตัวประมวลผลการสื่อสาร 

            จากที่ได้กล่าวถึงไปคร่าวๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์บางชนิดที่มีส่วนช่วยการทำงานของระบบติดต่อสื่อสาร การรับและส่งข้อมูล หรือเรียกว่าอุปกรณ์Communication Processors เช่นโมเด็ม มัลติเพล็กเซอร์โดยหน้าที่การทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้แสดงรายระเอียดดั้งนี้

โมเด็ม 

 

ในระบบการติดต่อสื่อสารมีอุปกรณ์หลายชนิดเชื่อมต่อกันอยู่ อย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และสายโทรศัพท์ซึ่งจากลักษณะของสัญญาณที่อธิบายในหัวข้อที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีสัญญาณทั้งสองประเภทที่ต้องสื่อสารร่วมกันนั่นคือสัญญาณดิจิตอลและอะนาล็อก

มัลติเพล็กเซอร์ 

มัลติเพล็กเซอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่แบ่งช่องทางการสื่อสารช่องทางเดียว ให้สามารถส่งข้อมูลจากต้นทางหลายๆแหล่งไปพร้อมกันได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีช่องทางการสื่อสารความเร็วสูงอยู่ช่องทางหนึ่งเราสามารถใช้มัลติเพล็กเซอร์แบ่งช่องทางสื่อสารนั้นออกเป็นช่องทางการสื่อสารขนาดเล็กลงแต่มีหลายช่องทางมากขึ้น เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้สามารถส่งข้อมูลจากหลายแหล่งได้

ฟอนต์เอ็นโพรเซสเซอร์ 

เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีหน้าที่การจัดงานเกี่ยวกับการสื่อสารโดยเฉพาะ  โดยเราจะต่อเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่เป็นFront-end Processor นี้เข้ากับเครื่องเมนเฟรมหรือโฮสต์เพื่อจัดการกับงานจำพวกควบคุมความผิดพลาดจากการสื่อสารทจัดรูปแบบหรือแก้ไขสัญญาณ ควบคุมหรือจัดหาเส้นทางในการรับส่งสัญญาณหรือปรับความเร็วของสัญญาณ เป็นต้น

คอนโทรลเลอร์ 

อุปกรณ์จำพวก Communication Processor อีกตัวหนึ่งที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เนื่องจากเป็นอุปกรณ์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ controller ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความพิเศษ โดยทำหน้าที่ควบคุมปริมาณการรับส่งข้อมูลข้อความต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ เทอร์มินอล

ช่องทางการสื่อสาร 

            ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง  เส้นทางที่ใช้ในการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งไปยังอุปกรณ์อื่นๆในเครือข่าย  โดยช่องทางเหล่านึ้คือ สื่อทางคมนาคมที่ใช้ในการรับส่งสัญญาณข้อมูลซึ่งมีอยู่หลายชนิดอย่างเช่น สายคู่เกลียว  สายเคเบิล  สายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง  สัญญาณไมโครเวฟ หรือสัญญาณดาวเทียม

เป็นต้น

สายคู่เกลียว 

                เป็นสื่อที่เก่าที่สุด สายคู้เกลียวเกิดจากการนำขดลวดทองแดงมาพันกันเป็นคู่ๆเป็นสื่อที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ส่วนใหญ่ สามารถใช้ส่งสัญญาณทั้งอนาล็อกและดิจิตอล ข้อดีคือราคาถูก หาซื้อง่าย ติดตั้งง่าย  ปัญหาคือรับ-ส่งข้อมูลช้า

สายเคเบิล 

                เป็นสื่อที่เกิดจากสื่อทองแดงหุ้มฉนวน เป็นสื่อประเภทเดียวกับสายเคเบิลโทรทัศน์ สามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้มากกว่าสายคู่เกลียว ส่งได้เร็วกว่าและปลอดภัยจากสัญญาณรบกวนได้มากกว่าและมีความคงทนมากกว่าสายคู่เกลียว 10-20เท่าข้อเสียคือหนักและหนา ติดตั้งยากกว่าสายคู่เกลียว ราคาค่าติดตั้งสูง

เคเบิลใยแก้วนำแสง 

                เกิดจากการนำเส้นใยแก้วนำแสงจำนวนนับพันมารวมกัน โดยเส้นใยแก้วนำแสงแต่ละเส้นมีขนาดเล็กมากเท่ากับเส้นผมของเรา การส่งข้อมูลผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงกระทำกันในรูปคลื่นแสง ข้อดีของเคเบิลคือส่งข้อมูลได้เร็ว มีน้ำหนักเบา ความทนทานสูง เหมาะเป็นอย่างยิ่งกับการส่งข้อมูลปริมาณมาก แต่ปัญหาของเคเบิลใยแก้วนำแสงก็คือ ติดตั้งยาก เสียค่าใช้จ่ายสูง

ช่องทางสื่อสารแบบไร้สาย 

ช่องทางสื่อสารแบบไร้สายหรือที่เรียกว่า Wireless Transmission กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในโลกของการติดต่อสื่อสารในปัจจุบัน และคาดว่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตอันใกล้ ช่องทางสื่อสารแบบไร้สายส่งสัญญาณผ่านอากาศ ไม่ต้องใช้ขดลวดทองแดงหรือเส้นใยแก้วนำแสงเหมือนสื่อจำพวกสายเคเบิลโดยช่องทางสื่อสารแบบไร้สายถูกนำไปใช้ในการติดต่อสื่อสารหลากหลายรูปแบบ

-                   การส่งสัญญาณไมโครเวฟ

-                   สื่อสารผ่านดาวเทียม

-                   เพจเจอร์

-                   โทรศัพท์มือถือ

-                   PDA

-                   SMART Phone

ระบบเครือข่าย 

                ระบบเครือข่าย คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อที่จะใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร เทอนร์มินอลหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่มีส่วนช่วยในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงซอฟแวร์สำหรับควบคุมการทำงานในส่วนต่างๆมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเพื่อติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน การนำระบบเครือข่ายเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย ดังต่อไปนี้

-                   ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้องค์กรยืดหยุ่น

-                   ระบบเครือข่ายช่วยให้บริษัทใช้ทรัพยากร

-                   ระบบเครือข่ายเป็นตัวเพิ่มการเชื่อมโยง

ประเภทของระบบเครือข่าย 

            ระบบเครือข่ายระยะใกล้ 

                ระบบเครือข่ายระยะใกล้หรือที่เรียกว่า LAN ย่อมาจาก Local Area Network เป็นระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น มีขนาดเล็ก ครอบคลุมพื้นที่ไม่กี่ช่วงอาคาร หรือประมาณในรัศมี 2000 ฟุต อย่างเช่น ระบบภายในอาคาร ภายในตึกเดียวกัน หรือหลายๆช่วงตึกติดต่อกันโดยไม่ต้องติดต่อกับองค์กร

                ระบบเครือข่ายระยะไกล 

                นอกจากการใช้ระบบเครือข่าย LAN ภายในองค์กรธุรกิจแล้ว ในหลายธุรกิจจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกับภายนอกธุรกิจ อย่างเช่น ติดต่อกับบริษัทคู่ค้าหรือผู้ผลิต จึงเกิดการเชื่อมต่อออกไปนอนเครือข่าย เกิดการเชื่อมต่อมากกว่าหนึ่งเครือข่าย หรือระบบเครือข่ายระยะไกล

 

รูปแบบของระบบเครือข่าย 

ในการแบ่งประเภทของระบบเครือข่ายในหัวข้อที่ผ่านมา เป็นการแบ่งตามลักษณะภูมิศาสตร์หรือระยะความใกล้ไกลของการเชื่อมต่อ ถ้าเราเปลี่ยนมุมมองที่ลักษณะทางกายภาพ หรือรูปแบบการนำอุปกรณ์มาเชื่อมต่อกัน

โทโปโลยีแบบดาว 

โทโปโลยีแบบดาวเป็นการติดต่อสื่อสารที่มีโฮสต์เป็นศูนย์กลาง เชื่อมต่อโดยรอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และเทอร์มินอลอื่นๆมีรูปคล้ายดาว โทโปโลยีนี้จะมีประโยชน์ในกรณีการประมวลผลที่จำเป็นต้องกระทำที่ส่วนกลางแต่โทโปโลยีแบบดาวจะจะอ่อนแอเนื่องจากทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ในระบบเครือข่ายจำเป็นต้องกระทำโฮสต์ที่เป็นศูนย์กลาง ดังนั้น ถ้าโฮสต์เป็นอะไรขึ้นมา  ระบบเครือข่ายจะไม่สามารถทำงานได้ต่อไป

โทโปโลยีแบบบัส 

ในระบบเครือข่ายที่มีการใช้โทโปโลยีแบบบัส เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเรื่องรวมถึงเทอร์มินอลทั้งหมดจะเชื่อมต่อกับวงจรกลาง หรือจะเรียกว่าแบบบัส เป็นสายคู่เกลียว สายเคเบิลหรือใยแก้วนำแสง โดยมีซอฟแวร์ทำหน้าที่ตรวจสอบว่าสัญญาณข้อมูลเป็นของเทอร์มินอลใด

โทโปยีแบบวงแหวน 

เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่มีลักษณะเป็นวง โดยสัญญาณข้อมูลถูกส่งไหลอยู่ภายในเครือข่ายทิศทางเดียวเหมือนวงแหวนโดยไม่มีจุดปลายทางเหมือนโทโปโลยีแบบบัส ซึ่งจะช่วยให้ลดปัญหาการชนกันของข้อมูล

ชอฟต์แวร์เพื่อการติดต่อสื่อสารของเครือข่าย 

            เพื่อการติดต่อสื่อสารนั้น นอนกจากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การเชื่อมต่อต่างๆที่เรามองเห็นแล้วยังมีอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการติดต่อสื่อสาร นั่นคือ ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ต่างๆเพื่อให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่ายไปอย่างได้อย่างราบรื่น

-                   เพื่อตรวจสอบข้อมูล

-                   จัดระเบียบและรูปแบบของข้อมูล

-                   รายงานประวัติการติดต่อสื่อสาร โดยแสดงรายละเอียดทั้งหมด และรายการติดต่อสื่อสารในช่วงเวลาที่กำหนดไว้

-                   รักษาความปลอดภัย และความลับของข้อมูล

-                   แปลความหมายของสัญญาณข้อมูล

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย เป็นซอฟแวร์ประเภทที่ช่วยในเรื่องของเส้นทาง และควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในการติต่อสื่อสาร

ซอฟต์แวร์จัดการเครือข่าย เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในเครือข่ายเช่น เราท์เตอร์ หรือสวิตช์จะมีการใส่ซอฟต์แวร์บางชนิด ที่เรียกว่า  Network management ให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายบริหารอุปกรณ์ตัวนั้นได้สะดวก

ประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

                เนื่องจากพัฒนาการของระบบเครือข่ายและการติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วและยังก้าวล้ำไปไกลทำให้ในปัจจุบันมีการนำระบบเครือข่ายไปประยุกต์ใช้ ก่อให้เกิดรูปแบบการติดต่อสื่อสารสะดวกรวดเร็วขึ้นมากมาย

-                   จดหมายอิเล็กทรอนิกส์  หรือที่รู้จักกันดีเรียกว่า E-mail บริการติดต่อสื่อสารโดยการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยจดหมายจะถูกส่งไปถึงปลายทางในเวลาอันรวดเร็ว สามารถส่งไฟล์ในรูปแบบ เสียง วีดีโอ ไปพร้อมกับจดหมายได้ด้วย

-                   โทรสาร  บริการส่งข้อความที่เป็นกระดาษจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับปัจจุบันสามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้แทน FAX แต่ต้องมีการติดตั้งซอฟแวร์ในการรับส่ง FAX

-                   ประชุมทางไกล  เป็นรูปแบบการส่งภาพและเสียงพร้อมๆกันจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝังหนึ่งโดยทั้งสองฝั่งจะจะต้องมีอุปกรณ์สำหรับบันทึกภาพเสียง

-                   GPS เป็นระบบการระบุตำแหน่ง คน สัตว์ สิ่งของ โดยใช้ดาวเทียมช่วยในการหาเป้าหมาย ตัวอย่างการนำระบบGPSไปใช้ เช่น การเดินเรือ เครื่องบิน

 

 

ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ

ปัญญาประดิษฐ์ คือ ความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ โดยใช้ทั้งฮาร์ดแวร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้ประมวลผลหรือคิดได้เหมือนมนุษย์ พูดง่ายๆก็คือพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อให้คิดหรือทำงานแทนมนุษย์ ให้เหมือนที่มนุษย์ลงมือทำเอง โดยพัฒนาให้ปัญญาประดิษฐ์สามารถเข้าใจในภาษาธรรมชาติทำงานทางกายภาพได้ รับรู้สัมผัสไม่ว่าจะเป็นทางภาพหรือเสียง

 

 

 

 

ภาษาธรรมชาติ 

ภาษาธรรมชาติ    เป็นปัญญาประดิษฐ์เป็นรูปแบบหนึ่ง  โดยเป็นการพัฒนาระบบประมวลผลภาษามนุษย์บนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจในความหมายของคำ วิเคราะห์คำพูดที่มนุษย์พูดกัน หรือตรวจจำผิดได้

ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์            เป็นปัญญาประดิษฐ์สาขาที่เน้นการสร้าง ออกแบบ และพัฒนาหุ่นยนต์โดยให้มีการเคลื่อนไหวและทำงานบางอย่างได้เหมือนมนุษย์ เพื่อนำหุ่นยนต์มาทำงานแทนมนุษย์โดยเฉพาะงานที่มีความเสี่ยงสูง

 

 

 

ระบบภาพ  

ระบบภาพพัฒนาขึ้นเพื่อเลียนแบบการมองเห็นของมนุษย์และการจดจำรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบความบกพร่องของอุปกรณ์ โดยระบบภาพมีประโยชน์มากกรณีที่นำไปใช้งานแทนมนุษย์ในสถานที่อันตรายซึ่งมนุษย์ไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง

โครงข่ายประสาทเทียม 

โครงข่ายประสาทเทียม เป็นการสร้างคอมพิวเตอร์ที่จำลองเอาวิธีการทำงานของสมองมนุษย์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์รู้จักคิดและจดจำในแนวเดียวกับโครงข่ายประสาทของมนุษย์ เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์ฟังภาษามนุษย์เข้าใจ อ่านออก และจำได้เรียกว่าสมองกล

ระบบผู้เชี่ยวชาญ

ระบบผู้เชี่ยวชาญ ที่เรียกว่า ES เป็นปัญญาประดิษฐ์รูปแบบหนึ่งที่มีการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้เพื่อสร้างเป็นระบบที่พยายามเลียนแบบมนุษย์ผู้มีความเชี่ยวชาญในการแก้ไข้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อให้ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษาแนะนำวิธีการแก้ปัญหาแทนผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์จริง

ปัญญาประดิษฐ์กับธรรมชาติ 

ปัญญาประดิษฐ์และปัญญาธรรมชาติ ถ้าหากจะเปรียบกันแล้ว ปัญญาในแต่ละแบบจะมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป

ข้อดีของปัญญาประดิษฐ์ที่มีมากกว่าปัญญาธรรมชาติ

  1. ปัญญาประดิษฐ์เป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างถาวร ในขณะที่ปัญญาธรรมชาติเกิดจากมนุษย์และติดตัวอยู่กับมนุษย์ดังนั้นจึงอาจสูญหายไปกับมนุษย์ได้
  2. ปัญญาประดิษฐ์เสียค้าใช้จ่ายที่น้อยกว่าปัญญาที่เกิดจากธรรมชาติ ในบางสถานการณ์มีการพิสูจน์มาแล้วว่าการเสียค่าใช้จ่ายซื้อปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้จ่ายน้อยกว่าปัญญาธรรมชาติ ในคณะที่สามารถ ปฏิบัติ งานให้ผลออกมาสำเร็จเหมือนกัน
  3. ปัญญาประดิษฐ์เป็นสิ่งที่มีความสม่ำเสมอและสมบูรณ์ ในขณะที่มีปัญญาธรรมชาติอาจจะเกิดความผิดพลาดได้
  4. ปัญญาประดิษฐ์ง่ายต่อการจัดทำเป็นเอกสาร ในขณะที่ปัญญาธรรมชาติเป็นสิ่งที่ยากต่อการจัดทำเอกสาร และการเผยแพร่ทำได้อยากกว่าเนื่องจากเป็นการถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง

ข้อดีของปัญญาธรรมชาติที่มีมากกว่าปัญญาประดิษฐ์

  1. ปัญญาธรรมชาติที่เป็นความสร้างสรรค์
  2. ปัญญาธรรมชาติที่เกิดจากประสบการณ์ที่สะสม
  3. ปัญญาธรรมชาติที่เกิดโดยธรรมชาติช่วยให้คนจดจำความสัมพันธ์ในสิ่งต่างๆได้
  4. ปัญญาธรรมชาติที่เกิดจากสัญชาติชาติญาณมีความสำคัญมากกว่าการแก้ปัญหาต่างๆ

ปัญญาประดิษฐ์แบบธุรกิจ

                ถึงแม้ว่าปัญญาประดิษฐ์จะมีข้อจำกัดมากมายเมื่อเทียบกับปัญญาโดยธรรมชาติของมนุษย์  แต่ในภาคธุรกิจยังคงให้ความสนใจกับการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ เนื่องมาจากเหตุผลหลายประการด้วยกันดั้งต่อไปนี้

สงวนความรู้และความเชี่ยวชาญเอาไว้ องค์ธุรกิจส่วนใหญ่ต้องการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ เพื่อป้องกันปัญหาการลาออก ปลดเกษียร หรือเสียชีวิต เพื่อไม่ให้ความรู้สึกหรือความเชี่ยวชาญสูญหาย

จัดเก็บความรู้และความเชี่ยวชาญรูปแบบที่โต้ตอบได้  ปัญญาประดิษฐ์เป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการคิด ประมวลผล หรือแก้ปัญหา ดังนั้น การค้นหาความรู้หรือความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาแบบปัญญาประดิษฐ์จะอยู่ในรูปแบบที่ติดต่อกับผู้ใช้ได้

ระบบผู้เชี่ยวชาญ 

                เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในองค์กรโดยเฉพาะปัญหาซึ่งต้องการตัดสินใจที่สลับซับซ้อนจำเป็นต้องอาศัยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญจะมีความรู้ความเข้าใจและมีประสบการณ์ในปัญหาที่เกิดขึ้นจึงทราบถึงทางเลือกที่มีอยู่หลายทางในการแก้ปัญหานั้น และโอกาสที่จะเลือกทางที่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตามการจ้างผู้เชี่ยวชาญมีค่าใช้จ่ายค่อยข้างสูง และผู้เชี่ยวชาญเองยังอาจไม่พร้อมในช่วงเวลาที่องค์กรของเราต้องการ

 

ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ 

                ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับคำถามหรือปัญหา ที่ผู้ใช้ต้องการคำแนะนำหรือทางแก้ไขจากระบบผู้เชี่ยวชาญ โดยมากส่านติดต่อกับผู้ใช้มักเป็นหน้าจอแสดงผลให้ผู้พิมพ์คำถามป้อนเข้ามายังระบบ

ฐานความรู้

                ส่วนสำคัญของระบบผู้เชี่ยวชาญได้แก่ ฐานความรู้ อย่างที่เราเข้าใจว่าระบบผ้เชี่ยวชาญแก้ปัญหาโดยอาศัยความรู้จากผู้เชี่ยวชาญตัวจริง ดังนั้น ในการพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญเรื่องใดๆขึ้นมานั้น ก่อนอื่นนักพัฒนาระบบจะต้องรวบรวมความรู้คำแนะนำ และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นจะถูกรวบรวมเก็บไว้ในฐานความรู้ในรูปแบบของกฎและกรอบความรู้

กฎ

                การเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในรูปแบบของกฎ ความรู้จะถูกเก็บเป็นเงื่อนไขและทางแก้ปัญหา อย่างเช่น หากพนักงานเงินเดือนเกินหมื่น ต้องคำนวณภาษีจากความรู้สิ่งที่เป็นเงื่อนไขคือ พนักงานเงินเดือนเกินหนึ่งหมื่นและทางแก้ปัญหาคือ ต้องคำนวณภาษี

กรอบความรู้

                เนื่องจากการเก็บข้อมูลในรูปแบบของกฎไม่เหมาะสมกับข้อมูลบางอย่างเช่น ข้อมูลจากสารานุกรมเนื่องจากข้อมูลบางชนิดไม่สามารถจัดอยู่ในรูปแบบของการตรวจสอบเงื่อนไขได้ หรือถ้าจะทำอย่างนั้นจริงเงื่อนไขจะยุ่งยากซับซ้อนเกินความจำเป็นจึงคิดรูปแบบการเก็บข้อมูลในฐานความรู้ขึ้นมาอีกแบบหนึ่ง คือกรอบความรู้เช่นความรู้เกี่ยวกับรถยนต์

-                   เป็นพาหนะ

-                   มี 4 ล้อ

-                   ใช้เครื่องยนต์

-                   สามารถเคลื่อนที่ได้

 

 

 

ผู้เก็บรวบรวมความรู้ 

                ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีการเก็บรวบรวมไว้ในฐานความรู้ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดในระบบผู้เชี่ยวชาญก็ว่าได้ หน้าที่การเก็บรวบรวมความรู้เหล่านี้จึงถือเป็นงานสำคัญเช่นกัน ผู้ที่ทำหน้าที่สอบถามความรู้จากผู้เชี่ยวชาญหลายๆท่า แล้วนำความรู้ที่ได้เก็บรวบรวมในฐานความรู้จะเรียกว่า วิศวกรความรู้ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับนักวิเคราะห์ระบบในระบบปกติ แต่ต้องมีทักษะพิเศษในด้านการสอบถามหรือล้วงเอาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญมาให้ได้มากที่สุด เป็นประโยชน์และตรงประเด็นจึงทำให้ระบบผู้เชี่ยวชาญที่จะพัฒนามานั้นมีประสิทธิภาพ

กระบวนการพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ

                เนื่องจากโครงสร้างและการทำงานของระบบผู้เชี่ยวชาญมีความแตกต่างจากระบบอื่นดังนั้นกระบวนการพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญจึงมีบางส่วนต่างออกไป

 

  1. เลือกคำถาม  ขั้นตอนแรกทีมพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญจะเลือกคำถามขึ้นมา เพื่อใช้คำถามนั้นในการพัฒนารวมถึงตรวจสอบการทำงานของระบบผู้เชี่ยวชาญ
  2. สร้างต้นแบบ  เพื่อสร้างสมมุติฐานที่ใช้ในการประมวลผลคำตอบหรอทางแก้ไขปัญหาของระบบผู้เชี่ยวชาญ
  3. สร้างระบบเต็มรูปแบบ ซึ่งระบบเต็มรูปแบบนี้จะเน้นไปที่การสร้างกฎในฐานความรู้ให้สมบูรณ์
  4. ทดสอบระบบ  ในขั้นตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดจะร่วมกันทดสอบการทำงานของระบบถ้าการทำงานยังมีข้อบกพร่อง ไม่สามารถหาทางแก้ปัญหาบางอย่างได้ ทีมพัฒนาต้องกลับไปตรวจสอบหรือแก้ไขในฐานความรู้ใหม่อีกครั้ง

ประโยชน์และข้อจำกัดของระบบผู้เชี่ยวชาญ 

                ระบบผู้เชี่ยวชาญได้รับความนิยมเนื่องมาจากความสามารถและประโยชน์ที่ผู้ใช้ได้รับอย่างไรก็ตามระบบผู้เชี่ยวชาญก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างในการทำงานอยู่ เช่น แก้ปัญหาบางอย่างช้า หรือระบบจะให้คำตอบได้ไม่ตรงกับผู้ที่ต้องการนัก

สำหรับประโยชน์สามารถจำแนกได้ดังนี้

  1. ผลลัพธ์และการผลิตเพิ่มขึ้น
  2. คุณภาพและความน่าเชื่อถือมีมากขึ้น
  3. รวบรวมความเชี่ยวชาญที่หาได้อยาก
  4. สามารถปฏิบัติงานในสิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยงอันตราย
  5. ปรับปรุงบริการให้ลูกค้า
  6. แก้ปัญหาซับซ้อนได้ดี
  7. ใช้เวลาน้อยลง

 

 

 

การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล 

            การนำคอมพิวเตอร์มาใช้มีประโยชน์ก็จริง แต่อีกนัยหนึ่งก็แฝงความเป็นอันตรายแฝงอยู่มากมายเช่นกันระบบควมพิวเตอร์มีความซับซ้อนมากว่าข้อมูลที่อยู่ในเอกสารดังนั้น เมื่อระบบเสียหายหรือทำงานไม่ได้ตามปกติ เวลาและค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาก็สูงตามไปด้วยนอกจากนี้เมื่อทุกคนทั้งในและนอกองค์กรสามารถทำงานเข้าถึงข้อมูลได้ โดยผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นเหตุให้ระบบข้อมูลถูกบุกรุกจากผู้ไม่ประสงค์ดีได้ง่ายนอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามต่างๆได้ง่ายกว่าข้อมูลในรูปแบบเอกสารอีกด้วย

เหตุผลที่ข้อมูลและสารสนเทศในระบบคอมพิวเตอร์ถูกคุกคามจากภัยรูปแบบต่างๆ ได้ง่ายกว่าระบบข้อมูลในยุคเก่ามีหลายประการด้วยกัน

  1. ข้อมูลและสารสนเทศในระบบคอมพิวเตอร์มีความซับซ้อน  เป็นเหตุให้ทำสำเนาเก็บไว้ได้ยากในขณะที่ข้อมูลในรูปแบบเอกสารทำสำเนาได้ง่ายกว่า เมื่อระบบคอมพิวเตอร์มีปัญหาข้อมูลอาจสูญหายโดยที่ยังไม่มีการทำสำเนาเก็บไว้
  2. กระบวนการการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์มองไม่เห็น  ทำความเข้าใจยากตรวจสอบยาก 
  3. ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ขยายผลในวงกว้าง  เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลในระบบเอกสารแบบเกา 
  4. ระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงบุคคลได้หลายฝ่าย  ผู้ใช้สามารถเข้าถึงในส่วนอื่นนอกเหนือจากส่วนบุคคลที่มีสิทธิได้ง่าย 
  5. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสารและซอฟแวร์เป็นผลให้การบุกรุกทำได้ง่ายขึ้น  ยกตัวอย่างเช่นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สาย ทำให้เกิดช่องทางการบุกรุกใหม่ และเป็นช่องทางที่การบุกรุกทำได้ง่ายด้วย เนื่องจากระบบครือข่ายไร้สายใช้เทคโนโลยีของคลื่นวิทยุง่ายต่อการรบกวนและแทรกแซง 

ภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของข้อมูล 

                ดังที่อธิบายไว้ในหัวข้อก่อนหน้าถึงสาเหตุที่ระบบคอมพิวเตอร์ถูกคุกคามได้ง่าย และยกตัวอย่างภัยคุกคามให้เห็นไปแล้วบางส่วน ในความเป็นจริงนั้นภัยคุกคามต่อข้อมูลและสารสนเทศในระบบคอมพิวเตอร์มีอยู่มากมายแสดงดังรายละเอียดต่อไปนี้

ผู้บุกรุก(Hacker)

            ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตในการใช้งานระบบแต่พยายามมักลอบเข้ามาด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการโจรกรรมข้อมูล  ผลกำไร  หรือความพอใจส่วนบุคคลก็ตามความเสียหายจากผู้บุกรุกเป็นภัยที่คุกคามอย่างหนัก ดังนั้น  องค์กรส่วนใหญ่ที่ใช้อินเตอร์เน็ตจึงให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกัน Hacker

ไวรัสคอมพิวเตอร์

                ไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นซอฟแวร์ที่มีเจตนาร้ายแฝงเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์โดยจะตรวจพบได้อยากไวรัสคอมพิวเตอร์มีหลายประเภทและก่อความเสียหายต่อระบบได้หลายรูปแบบแต่สร้างความรำคาญ มีข้อความแปลกๆปรากฏมาเรื่อยๆ บนหน้าจอ หรือแม้กระทั่งทำลายไฟล์ข้อมูลต่างๆ ให้ได้รับความเสียหาย ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่พบบ่อยๆแบ่งได้ 7 ประเภท

-                   ไวรัสเลียนแบบ  ไวรัสประเภทนั้นจะแอบแฝงตามไฟล์ต่างๆและคอยสร้างไฟล์ขึ้นมาใหม่โดยเลียนแบบไฟล์ในระบบเดิม  แล้วหลอกให้ระบบเรียกไฟล์ที่สร้างเลียนแบบขึ้นมาใช้งานแทนไฟล์จริง ผลที่ตามมาคือ เครื่องจะติดไวรัสทันที

-                   ไวรัสโปรแกรม   ถ้ามีการเรียกใช้ไฟล์ที่ติดไวรัสประเภทนี้ ก็จะทำให้ไวรัสแ

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น